ประวัติตำบลปากกราน
ตำบลปากกราน มีประชากรนับถือศาสนา 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลามชาวพุทธเป็นคนพื้นเพเดิมของชาวไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนชาวอิสลามได้อพยพมาจากทางใต้ คือแถบมาเลเซีย อดีตเรียกว่าแหลมมาลายูเพื่อทำการค้ากับชาวกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมตำบลปากกรานและตำบลบ้านป้อมมีพื้นที่ติดต่อกันมากที่สุด สมัยกรุงศรีอยุธยา 2 ตำบลนี้เป็นส่วนเดียวกันเรียกว่าป้อมปราการ ทางทิศตะวันตกของ กรุงศรีอยุธยามีไว้เพื่อป้องกันข้าศึก และเป็นที่สอดแนมรายงานข่าวคราวต่างๆ เข้าเมืองหลวง โดยเฉพาะข้าศึกที่เป็นพม่ายกทัพมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ คือมาจากจังหวัดระนอง จังหวัดกาญจบุรี ผ่านด่านเจดีย์สามองค์ กองทัพพม่าจะยกทัพมาบ่อยครั้งแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดการเกี่ยวกับระบบการปกครองแบ่งพื้นที่ปกครอง โดยกำนันดูแลการปกครองท้องถิ่น จึงแบ่งส่วนการปกครองเป็นตำบลบ้านป้อมและตำบลปากกราน เดิมแล้วเรียกว่า “ บ้านปราการ ” แต่ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็น “ ปากกราน ” มาจนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลทางกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
ตำบลปากกรานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีถนนลาดยาง 2 สาย
ตัดผ่านตำบลปากกราน อยู่ห่างจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา ประมาณ 7 กิโลเมตร
1.2 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ้านรุน อำเภอพระนครศรีอยุธยาอำเภอบางไทรและอำเภอบางปะอิน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคลองตะเคียน ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร
1.3 การปกครองตำบลปากกราน แบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 ชื่อหมู่บ้าน บ้านพลู หมู่ที่ 8 ชื่อหมู่บ้าน บ้านในคลอง
หมู่ที่ 2 ชื่อหมู่บ้าน สะพานยาว หมู่ที่ 9 ชื่อหมู่บ้าน บ้านในคลองปากกราน
หมู่ที่ 3 ชื่อหมู่บ้าน บ้านต้นยาง หมู่ที่ 10 ชื่อหมู่บ้าน บ้านทุ่งปากกราน
หมู่ที่ 4 ชื่อหมู่บ้าน บ้านหาดทราย หมู่ที่ 11 ชื่อหมู่บ้าน บ้านคลองมอญ
หมู่ที่ 5 ชื่อหมู่บ้าน บ้านบางกระชา หมู่ที่ 12 ชื่อหมูบ้าน บ้านต้นสะตือ
หมู่ที่ 6 ชื่อหมู่บ้าน ใต้วัดทำใหม่ หมู่ที่ 13 ชื่อหมู่บ้าน บ้านวัดนาค
หมู่ที่ 7 ชื่อหมู่บ้าน บ้านทำใหม่ หมู่ที่ 14 ชื่อหมู่บ้าน บ้านปากคลองตะเคียนบน
1.4 สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปในตำบลปากกราน มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาลักษณะเป็นท้องกระทะ มีหมู่ที่ 14 เป็นหมู่ที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนหมู่ที่ 1 ถึง หมู่ที่ 13 ตั้งอยู่บนสองฝั่งคลองตะเคียนและคลองปากกราน ภายในตำบลมีลำคลองธรรมชาติ เช่น คลองตะเคียน คลองปากกรานและแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีคลองส่งน้ำชลประทานไหลกระจายอยู่ทั่วไปภายในตำบลโดยได้รับจากโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางบาล
1.5 พื้นที่ปลูกป่า
ตำบลปากกราน ไม่มีพื้นที่ปลูกป่า
1.6 อุณหภูมิ
อุณหภูมิโดยทั่วไป เป็นไปตามฤดูกาล ซึ่งอุณหภูมิโดยเฉลี่ย จะอยู่ในช่วงฤดูร้อนอยู่ที่ 35-40 ๐C
ช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 18-25 ๐C
1.7 เส้นทางคมนาคม
ตำบลปากกราน มีเส้นทางคมนาคมทางบก ดังนี้
- ถนนลาดยาง ผ่านหมู่ที่ 1,3,5,7-13 และหมู่ที่ 14
- ถนนคสล. ผ่านหมู่ที่ 1-14
- ถนนลูกรัง ผ่านหมู่ที่ 2,3,4,5,6,7,8,10,11,12 และหมู่ที่ 14
- ถนนชลประทาน ผ่านหมู่ที่ 13
- ถนนดิน ผ่านหมู่ที่1,5,8 และหมู่ที่ 10
1.8 รายชื่อคณะกรรมการศูนย์ฯ
ลำดับที่ |
ชื่อ - นามสกุล |
ตำแหน่ง |
1 |
นายสุริยนต์ เริงทรัพย์ |
ประธานกรรมการ |
2 |
นายสิทธิพงค์ ประสิทธิเดช |
กรรมการ |
3 |
นายสมหมาย พรหมทัต |
กรรมการ |
4 |
นายสมหมาย ไทยประยูร |
กรรมการ |
5 |
นายพรต สุขสมนิตย์ |
กรรมการ |
6 |
นางบุญเตือน ไวยฉาย |
กรรมการ |
7 |
นายธวัช เดชเจริญ |
กรรมการ |
8 |
นางมะลิ รัมมะพล |
กรรมการ |
9 |
นางสาวช่อทิพย์ ใหม่อ่อง |
กรรมการ |
10 |
นางสาวนวลน้อย รัมมะภาพ |
กรรมการ |
11 |
นางสาวผ่องพักตร์ รัมมะภาพ |
กรรมการ |
12 |
นางเฉลิม กลมปล้อง |
กรรมการ |
13 |
นางลำจวน โตสม |
กรรมการ |
14 |
นายพยอม รัมมะโรจน์ |
กรรมการ |
15 |
นางจิราภา เรือนทอง |
กรรมการและเลขานุการศูนย์ฯ |
16 |
นางสาวโชติรส คงสมโอษฐ์ |
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์ |
|